f
title
สำนักงานทางหลวงที่ 5
วิสัยทัศน์ : "ระบบทางหลวงที่สะดวกปลอดภัย เชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ"
 
ข่าวสารทางหลวง
title
กรมทางหลวง ขยาย 4 ช่องจราจร ทล.210 สายหนองบัวลำภู-เลย ตอน อ.นาวัง-บ.วังสำราญ จ.หนองบัวลำภู ระยะทาง 19.8 กิโลเมตร แล้วเสร็จ เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน

กรมทางหลวง ขยาย 4 ช่องจราจร ทล.210 สายหนองบัวลำภู-เลย ตอน อ.นาวัง-บ.วังสำราญ จ.หนองบัวลำภู ระยะทาง 19.8 กิโลเมตร แล้วเสร็จ เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน   กรมทางหลวง โดยสำนักก่อสร้างทางที่ 2 ดำเนินการโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 210 สายหนองบัวลำภู - เลย ตอน อ.นาวัง-บ.วังสำราญ จ.หนองบัวลำภู ระยะทาง 19.844 กิโลเมตร เป็น 4 ช่องจราจร แล้วเสร็จ เชื่อมโครงข่ายคมนาคมขนส่งภาคอีสานตอนบน   นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ทางหลวงหมายเลข 210 สายหนองบัวลำภู-เลย ตอน อ.นาวัง-บ.วังสำราญ จ.หนองบัวลำภู เป็นทางหลวงเชื่อมการเดินทางกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน         เช่น จ.เลย จ.อุดรธานี ไป จ. เพชรบูรณ์ และ จ. พิษณุโลก ในช่วงระหว่าง กม.71+675 - กม.81+821 และ กม.84+350 - กม.94+048 เดิมมีขนาด 2 ช่องจราจรสวนทางกัน และมีผิวจราจรที่แคบเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ประกอบกับในพื้นที่ดังกล่าวมีปริมาณการจราจรเพิ่มมากขึ้นตามสภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางและการขนส่งสินค้า จึงมีความจำเป็นต้องมีการก่อสร้างขยายทางหลวงช่วงดังกล่าวเพื่อรองรับการเดินทางให้มีความสะดวกปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการปรับปรุงและเพิ่มความแข็งแรงของชั้นโครงสร้างทางให้ดีขึ้น สำหรับโครงการฯ มีลักษณะการก่อสร้างเป็นมาตรฐานทางชั้นพิเศษขนาด ๔ ช่องจราจร (ไป-กลับ)    ช่องจราจรกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.50 เมตร ผิวทางคอนกรีต แบ่งทิศทางการจราจรด้วยเกาะกลางแบบยก  ก่อสร้างสะพานข้ามแยก 2 แห่ง, สะพานข้ามคลอง 4 แห่ง และสะพานลอยคนเดินข้าม 2 แห่ง รวมงานติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างบนทางหลวง งบประมาณ 889,120,800 บาท   เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งบนโครงข่ายทางหลวงพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู เชื่อมการเดินทางกลุ่มจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ตอนบนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เพิ่มศักยภาพการขนส่งอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่โครงการ การเกษตร และการท่องเที่ยว ให้เกิดความเจริญในท้องถิ่นและประเทศต่อไป  
title
คณะรัฐมนตรี ไฟเขียวเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างงานโยธา มอเตอร์เวย์ บางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา “ศักดิ์สยาม” สั่งการด่วน ให้กรมทางหลวงเร่งรัดดำเนินการ เพื่อเปิดให้บริการแก่ประชาชนโดยเร็ว

คณะรัฐมนตรี อนุมัติวงเงินค่าก่อสร้างเพิ่มเติม ในส่วนงานโยธา โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา จำนวน 12 ตอน วงเงิน 4,970 ล้านบาท นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งการให้กรมทางหลวงเร่งรัดเดินหน้าก่อสร้างส่วนที่เหลืออย่างเต็มที่ โดยเน้นย้ำถึงคุณภาพ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งคาดว่าจะเปิดทดลองวิ่งช่วงปากช่อง ถึงปลายทางที่เลี่ยงเมืองนครราชสีมา ปลายปี 2566 นี้ และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบพร้อมเก็บเงินค่าผ่าทางในปี 2568 ตามที่กรมทางหลวงได้เริ่มดำเนินงานก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน - นครราชสีมา ในส่วนของงานโยธา มาตั้งแต่ปี 2559 โดยแบ่งงานออกเป็น 40 ตอน ปัจจุบัน ก่อสร้างแล้วเสร็จ 24 ตอน ส่วนอีก 16 ตอน ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากติดปัญหาอุปสรรคใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1) สภาพพื้นที่ในสนามที่ทำการก่อสร้างได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 2) ปรับปรุงรูปแบบทางวิศวกรรมให้สอดคล้องกับสภาพทางกายภาพของพื้นที่ในปัจจุบัน 3) ปรับรูปแบบให้เหมาะสมสอดคล้องกับโครงสร้างสาธารณูปโภค หรือความจำเป็นของหน่วยงานที่โครงการฯ ตัดผ่าน 4) ปรับรูปแบบการก่อสร้างเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อข้อร้องเรียนของประชาชนในพื้นที่ และให้สอดคล้องกับโครงข่ายถนนที่ประชาชนใช้ทางในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องแก้ไขแบบก่อสร้าง ส่งผลให้ค่างานก่อสร้างเพิ่มขึ้น ซึ่งนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ติดตามและเร่งรัดให้กรมทางหลวงแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด วันนี้ (7 ก.พ. 2566) คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติเห็นชอบเพิ่มวงเงินงบประมาณและขยายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณเพิ่มเติม โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ในส่วนของงานโยธาที่ยังไม่ได้ดำเนินการ จำนวน 12 ตอน วงเงินรวม 4,970.7107 ล้านบาท ประกอบด้วย- ตอน 1 กม. 0+000.000 - 7+332.494 วงเงิน 631.2045 ลบ.- ตอน 2 กม. 0+000.000 – 5+470.673 วงเงิน 70.3000 ลบ.- ตอน 4 กม. 9+008.350 - 15+000.000 วงเงิน 971.8108 ลบ.- ตอน 5 กม. 15+000.000 - 27+500.000 วงเงิน 69.1874 ลบ.- ตอน 18 กม. 72+328.075 – 74+300.000 วงเงิน 271.4985 ลบ.- ตอน 19 กม. 74+300.000 – 77+000.000 วงเงิน 596.7523 ลบ.- ตอน 20 กม. 77+000.000 - 82+500.000 วงเงิน 161.7828 ลบ.- ตอน 21 กม. 82+500.000 - 86+000.000 วงเงิน 1,310.1243 ลบ.- ตอน 23 กม. 102+000.000 - 110+900.000 วงเงิน 406.2323 ลบ.- ตอน 24 กม. 110+900.000 - 119+000.000 วงเงิน 26.4170 ลบ.- ตอน 34 กม. 140+040.000 – 141+810.000 วงเงิน 291.6938 ลบ.- ตอน 39 กม. 175+100.000 - 188+800.000 วงเงิน 163.7071 ลบ. โดยทำให้วงเงินค่าก่อสร้าง รวม 40 ตอน เพิ่มขึ้นจากเดิม รวมเป็นจำนวนเงิน 66,165 ล้านบาท ซึ่งยังต่ำกว่ากรอบวงเงิน 69,970 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรีที่เห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2559 สำหรับงานก่อสร้างที่ได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วน วงเงินประมาณ 1,785 ล้านบาท นั้น กรมทางหลวง มีความจำเป็นต้องตรวจสอบรายละเอียดทั้งในส่วนของเนื้องาน และความรับผิดชอบของบริษัทผู้รับจ้างคู่สัญญาให้มีความละเอียดรอบคอบ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการ โดยมีรองอธิบดีฝ่ายดำเนินงาน เป็นประธาน และตัวแทนหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านวิศวกรรม ระเบียบ กฎหมาย อาทิ สภาวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สำนักงานอัยการสูงสุด กรมบัญชีกลาง สำนักกฏหมาย กระทรวงคมนาคม ร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบเรื่องนี้อย่างละเอียดรอบคอบ ถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ ตามหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ กรมทางหลวงจะเร่งรัดเดินหน้าการก่อสร้างงานโยธาในส่วนที่เหลือให้สามารถเปิดทดลองให้บริการได้โดยเร็วที่สุด โดยคาดว่าจะสามารถเปิดทดลองวิ่ง ช่วงปากช่อง ถึง ทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร ในช่วงปลายปี 2566 รวมถึงการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้เอกชนคู่สัญญาร่วมลงทุนการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) เพื่อเร่งรัดงานติดตั้งระบบต่างๆ เช่น ระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง M-FLOW ระบบบริหารควบคุมการจราจร โดยคาดว่าจะเริ่มทดสอบระบบ พร้อมทยอยเปิดทดลองให้บริการได้ในปี 2567 และเปิดใช้บริการเส้นทางอย่างเต็มรูปแบบในปี 2568 ต่อไป
title
คืบหน้ากว่า 80 % คาดแล้วเสร็จพฤศจิกายน 2565 กรมทางหลวงเติมเต็มโครงข่ายคมนาคมขยายถนนสายขุนเขา ทล.101 จ.แพร่ – จ.น่าน 4 ช่องจราจรตลอดสายทาง หนุนเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวภาคเหนือเชื่อมประเทศเพื่อนบ้าน คืบหน้ากว่า 80 % คาดแล้วเสร็จพฤศจิกายน 2565

กรมทางหลวงเติมเต็มโครงข่ายคมนาคมขยายถนนสายขุนเขา ทล.101 จ.แพร่ – จ.น่าน  4 ช่องจราจรตลอดสายทาง หนุนเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวภาคเหนือเชื่อมประเทศเพื่อนบ้าน  คืบหน้ากว่า 80 %    คาดแล้วเสร็จพฤศจิกายน 2565   นายสราวุธ ทรงศิวิไล  อธิบดีกรมทางหลวง  เปิดเผยว่า ตามที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้มอบนโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทางถนนในพื้นที่ภาคเหนือ พร้อมเร่งรัดโครงการก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงแผ่นดิน กิจกรรมเร่งรัดทางสายประธานให้เป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 101 สาย อ.ร้องกวาง - น่าน ตอน บ.ห้วยแก๊ต - บ.ห้วยน้ำอุ่น ซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดระหว่างเชื่อม จังหวัดแพร่ – จังหวัดน่าน (ประตูสู่น่านบริเวณเขาครึ่ง) ที่ยังอยู่ระหว่างก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวเดิมมีขนาด 2 ช่องจราจร ลักษณะถนนบางช่วงเป็นภูเขาที่ลาดชันสูงและคดโค้ง ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จึงจำเป็นต้องขยายเส้นทางเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกปลอดภัย รองรับปริมาณการจราจรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือไปสู่ภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะภาคขนส่งและแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจึงผลักดันให้เร่งขยายเส้นทางสาย อ.ร้องกวาง - น่าน ตอน บ.ห้วยแก๊ต - บ.ห้วยน้ำอุ่น เป็น 4 ช่องจราจรในส่วนที่เหลือ 16.15 กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงสุดท้าย โดยที่ผ่านมากรมทางหลวงได้ขยายเส้นทางดังกล่าวแล้วเสร็จระยะทางรวม 81.34 กิโลเมตร ซึ่งหากโครงการแล้วเสร็จจะช่วยเสริมสร้างโครงข่ายทางหลวงพื้นที่ภาคเหนือให้สมบูรณ์ตลอดสาย 97.49 กิโลเมตร กรมทางหลวงโดยสำนักก่อสร้างทางที่ 1 จึงเร่งดำเนินโครงการก่อสร้างมีโดยจุดเริ่มต้นโครงการอยู๋ในพื้นที่ อ.ร้องกวาง จ.แพร่ ที่ กม.300+049 สิ้นสุดที่ อ.เวียงสา จ.น่าน ที่ กม.316+199 ขยายจาก 2 ช่องจราจรเป็นมาตรฐานทางชั้นพิเศษขนาด 4 ช่องจราจร (ไปกลับข้างละ 2 ช่องจราจร) ผิวทางเป็นแอสฟัลต์คอนกรีต  ช่องจราจรกว้างช่องละ 3.50 เมตร  ไหล่ทางชนิดเดียวกับผิวทางกว้าง 2.50 เมตร  มีเกาะกลางแบบยก (Raised Median) สลับกับเกาะกลางแบริเออร์คอนกรีต รวมงานก่อสร้างสะพานคอนกรีตข้ามคลอง 4 แห่ง และก่อสร้างศาลาทางหลวงบริเวณสองข้างทางเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนจำนวน 6 แห่ง พร้อมติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างตลอดสาย รวมทั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยต่าง ๆ  ตามมาตรฐานกรมทางหลวง งบประมาณโครงการ 1,093 ล้านบาท  ปัจจุบันการก่อสร้างคืบหน้ากว่า 80 %  คาดว่าก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน ปี 2565  ทางหลวงสาย อ.ร้องกวาง - น่าน เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข 101 ซึ่งมีระยะทางประมาณ 488.48 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นจากถนนพหลโยธินที่ จ.กำแพงเพชร ผ่านเข้าสู่ จ.สุโขทัย จ.อุตรดิตถ์ อ.เด่นชัย จ.แพร่ ผ่าน อ.สูงเม่น ผ่านทางเลี่ยงเมืองแพร่ เข้าสู่ อ.ร้องกวาง สิ้นสุดที่ด่านผ่านแดนถาวรห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน ทางหลวงสายนี้นับว่ามีความสำคัญเนื่องจากเป็นเส้นทางสายหลักในการเดินทางสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติที่สำคัญ อาทิ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน นันทบุรี ดอยภูคา ขุนสถานที่สำคัญอีกหลายๆแห่ง   เจดีย์พระธาตุช่อแฮ แช่แห้ง รวมแหล่งอารยธรรมล้านนาต่างๆ รวมแหล่งผลิตภัณฑ์ไม้สัก และสู่แหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาชนลาว                หากโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จตลอดเส้นทาง จะช่วยยกระดับความปลอดภัยโครงข่ายคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคเหนือ อำนวยประโยชน์สำหรับภาคขนส่งพืชผลทางการเกษตรและรองรับการขยายเส้นทางหลวงที่เชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาด้านเศรษฐกิจชายแดน  ส่งเสริมการท่องเที่ยวและสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาทางหลวงในพื้นที่ภาคเหนือให้เป็นฐานเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์มูลค่าสูง ตามแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)    ----------------------------------------- สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่       Facebook : @departmentofhighway Twitter : @prdoh1 Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=51A_IdP-OCo ---------------------------------------- ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมทางหลวง วันที่ 2 มิถุนายน 2565  
ภาพกิจกรรม